สนาม:หมอดีออนไลน์
บทนำ:นายหลี้ เหมือนแก้ว อายุ 53 ปีและเพื่อนบ้านอีก 3 รายกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้รับความเดือดร้อนมานาน 3-4 ปีแล้วบางรายถูกขโมยขึ้นบ้าน 2-3 ครั้งแต่ตำรวจอ้างไม่มีหลักฐานจึงไม่สามารถจับกุมได้ ซึ่งขโมยทั้งเครื่องสูบน้ำ ทุเรียนและงัดแงะเอาสิ่งของทุกอย่างเกือบจะทุกหลังคาเรือนแล้ว...
สนาม: สถานีโทรทัศน์เฮยหลงเจียง
บทนำ: ดรเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกวันก่อนว่า มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มจะปิดคณะเศรษฐศาสตร์ เพราะจำนวนนักศึกษาลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยบางแห่งที่ยังเปิดสอนสาขาเศรษฐศาสตร์ก็มีเด็กนักศึกษาสมัครเข้าเรียนลดลงปีละ 20-40% เหตุผลคือเด็กที่จบจากคณะนี้หางานยากขึ้น เหตุที่หางานยากขึ้น เพราะนายจ้างต้องการความรู้ความสามารถเฉพาะด้านมากกว่า เช่น ธนาคารก็จะเน้นสาขาบัญชีหรือการเงินการธนาคาร เป็นต้น เมื่อเจอปัญหาอย่างนี้ มหาวิทยาลัยเอกชนก็ต้องปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขัน เช่น ลดค่าเล่าเรียนลง 20-30% และปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กให้มากที่สุด เช่น สาขาด้านอี-คอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์ รวมถึงหลักสูตรการสร้างผู้ประกอบการยุคใหม่ หรือ startups บางสถาบันก็เพิ่มวิชาเกมและอีสปอร์ทส์ เพราะมีตำแหน่งงานว่างมากขึ้น ดรเสาวณีย์ บอกว่า เด็กยุคนี้เปลี่ยนวิธีคิด ไม่ต้องการเป็นลูกจ้าง แต่มุ่งจะเรียนหนังสือเพื่อเป็นผู้ประกอบการ ตอนนี้เด็กไม่ค่อยอยากเรียนสาขาที่เป็นศาสตร์ แม้ว่าหลายๆ สาขาจะเคยได้รับความนิยมในอดีต โดยเฉพาะนิเทศศาสตร์ แต่ปัจจุบันสื่อต่างๆ ค่อนข้างจะซบเซามาก แม้จะมีผู้ประกอบการเปิดกิจการจำนวนมากก็ตาม เรื่องอี-คอมเมิร์ซค่อนข้างจะมาแรง สอดคล้องกับการขยายตัวของธุรกิจออนไลน์หรือดิจิตอลและสตาร์ทอัพสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล อธิการบดี มหอการค้าบอก ข้อวิเคราะห์นี้ไม่ควรจะสร้างความแปลกใจให้กับคนในแวดวงต่างๆ เพราะ ความป่วน หรือ disruption ที่เกิดอยู่ขณะนี้เริ่มจะส่งสัญญาณมาหลายปีแล้ว แต่การปรับตัวของสถาบันการศึกษา รวมถึงผู้บริหารและอาจารย์ช้ากว่าอัตราความเร่งของความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ยิ่งเมื่อฝ่ายรัฐไม่สามารถปรับแก้กฎกติกาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ก็ยิ่งทำให้วงการศึกษาตกอยู่ในภาวะวิกฤติที่หนักหน่วงอย่างที่เห็นกัน อาจารย์เสาวณีย์บอกว่า การปรับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยสมัยก่อนทำกันประมาณ 5 ปีต่อครั้งก็ถือว่าเร็วแล้ว แต่วันนี้หลักสูตรอาจต้องปรับต้องเปลี่ยนกันทุกเทอมด้วยซ้ำไป จึงจะทันกับความต้องการของตลาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าบอก ผมสงสัยว่าหากมหาวิทยาลัยต้องปรับหลักสูตรกันเทอมต่อเทอม กระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะ สกอที่กำกับดูแลและประเมินคุณภาพการเรียนการสอนของสถาบันศึกษานั้นเข้าใจความเร่งด่วนและความรุนแรงของปัญหาหรือไม่อย่างไร คำตอบคือ ข้าราชการก็ยังคิดและทำอย่างข้าราชการยุค 10 ข้าราชการที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับต้องเปลี่ยนก็ทำอะไรมากไม่ได้ เพราะกฎระเบียบยังไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนข้าราชการเช้าชามเย็นชามก็ยังถูลู่ถูกังกันต่อไป นอกจากจะกินเงินเดือนเปลืองภาษีประชาชนแล้ว ก็ยังเข้าลักษณะ มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ จนกลายเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการยกเครื่องให้ทันกับคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เลือกเล็กเลือกใหญ่ ไม่เลือกเอกชนหรือรัฐแต่ประการใดทั้งสิ้น รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาวันนี้เข้าใจความจำเป็นที่จะต้องสลัดความล้าสมัยทิ้ง และกระโจนเข้าสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ แต่ท่านทั้งหลายก็ถูกกฎเกณฑ์กติกาเดิมๆ จำกัดความเคลื่อนไหวอยู่ไม่น้อย แม้จะพยายามขยับในหลายๆ ทาง แต่ดูเหมือนจะต้องฟาดฟันกับระบบราชการเก่าๆ อย่างหนักหน่วงเกินคาด ความจำเป็นที่จะต้อง ทำลายอย่างสร้างสรรค์ หรือ creative destruction มีอยู่ในหลายๆ กลไก นั่นย่อมหมายถึงการระดมสรรพกำลังของคนที่พร้อมจะลุย พร้อมจะเสี่ยง และพร้อมจะรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เพื่อก้าวเข้าสู่โหมดการทำงานยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง ผมพูดคุยกับผู้บริหารสถาบันการศึกษาหลายแห่งแล้วก็พบว่า หลายท่านเข้าใจถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเดินหน้าทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อตั้งรับกับ disruption แม้จะเหนื่อยยากและต้องเผชิญกับอุปสรรคหนักหน่วงเพียงใดก็ตาม มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องเจอกับแรงต่อต้านจากอาจารย์เองที่ไม่ยอมปรับ ไม่ยอมเปลี่ยน ไม่ยอมเข้าใจความร้อนแรงของนวัตกรรมใหม่ต่อการศึกษา แม้มาถึงจุดที่ผู้บริหารบางคนต้องบอกกับอาจารย์ตรงๆ ว่าหากไม่ปรับไม่แก้ อีกหน่อยก็ไม่มีนักเรียนนักศึกษาให้สอน เมื่อเด็กสามารถหาความรู้และข้อมูลได้เองจากแหล่งออนไลน์ต่างๆ อาจารย์ที่ไม่ปรับบทบาทของตัวเองจากการเป็นผู้สอนมาเป็น โค้ช ก็จะต้องตกงานอย่างไม่ต้องสงสัย จำนวนมหาวิทยาลัยเอกชนและรัฐจากนี้ไปอีก 3-5 ปี จะลดลงไปเรื่อยๆ และท้ายที่สุดผู้อยู่รอดอาจจะไม่ใช่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดเท่านั้น แต่เป็นผู้ที่สามารถปรับตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา!
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-04-13